ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

กระต่ายยักษ์

กระต่ายยักษ์




          กระทาชายชาวเยอรมันตะวันออกที่เกษียณจากอาชีพแล้วนายหนึ่ง ได้ทำการผสมพันธุ์กระต่ายจนมีขนาดตัวกว่าสิบกิโลกรัมขึ้นไป น้ำหนักพอๆกับสุนัขขนาดกลางนั่นเลยทีเดียว กระต่ายที่ว่านี้เป็นสายพันธุ์ขนสีเทาที่มีขนาดใหญ่จนได้รับรางวัลชนะเลิศที่ส่งเข้าประกวดประชันกระต่ายที่มีขนาดใหญที่สุดในประเทศเยอรมันนี
          เจ้าของกระต่ายยักษ์นี้มีความมุ่งหมายในการปรับปรุงพันธุ์กระต่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหารโปรตีนเนื้อสัตว์สำหรับประชากรในประเทศที่อดหยากยากจนทั่วโลก เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชได้เกือบทุกชนิด และขยายพันธุ์ได้เร็ว กระต่ายหนึ่งตัวสามารถให้ลูกได้ประมาณ 5 ตัวต่อปี กระต่ายยักษ์ที่ชำแหละแล้วนี้หนึ่งตัวสามารถบริโภคได้อย่างเพียงพอสำหรับ 8 คนเลยทีเดียว
          ปัจจุบันเขาได้ขายกระต่ายยักษ์จำนวน 12 ตัวให้แก่ประเทศยากจนไปแล้วประเทศหนึ่ง ในราคาตัวละ 80 ยูโรดอลลา เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ทั้งๆที่มีคนขอซื้อในราคาสูงถึง 250 ยูโรดอลล่าทีเดียว แต่เขาไม่ยอมขาย เพราะเขาไม่ต้องการให้เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความรู้สึกผูกพันต่อกัน เนื่องจากจะไม่มีใครอยากฆ่ากินเนื้อมันอันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ความต้องการของเขาไป “เลี้ยงเพื่อกิน มิใช่เลี้ยงเพื่อดูเล่น” นั่นเอง








การอุ้มกระต่าย

การอุ้มกระต่าย

การอุ้มที่ผิดวิธี






 การอุ้มกระต่ายที่ถูกต้องและปลอดภัย 
            มีวิธีการอุ้มที่ถูกต้องหลายวิธี ทุกวิธีคุณต้องจับอย่างมั่นคง เพื่อไม่ให้กระต่ายดิ้น และอย่าลืมรองรับช่วงสะโพกของกระต่ายเพื่อป้องกันกระดูกแตกหัก
 
       ท่าที่ 1 ท่า “อยู่บนแขน” ใช้ข้อศอก ช่วงแขน และลำตัวของเรารับช่วงตัวและสะโพกของกระต่าย ในขณะที่มือประคองขาหน้าไว้ อีกมือหนึ่งวางไว้บนไหล่หรือจับหนังที่หลังคอเพื่อควบคุมกระต่ายหรือป้องกันไม่ให้มันดิ้น
หมายเหตุ : กระต่ายบางตัวชอบที่จะห้อยขาหลังในท่านี้ เพราะรู้สึกสบาย ไม่เกี่ยวกันกับการไม่รองรับขาหลัง

 
       ท่าที่ 2 “หัวมุดศอก” กระต่ายขี้อายชอบให้อุ้มโดยที่ไม่ต้องให้เขาเห็นสิ่งรอบตัว ให้หัวของกระต่ายซุกอยู่อยู่ที่ข้อพับของข้อศอก ในขณะที่ท่อนแขนและมือข้างเดียวกับข้อศอกทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวและส่วนสะโพกอย่างมั่นคง มืออีกข้างวางไว้เหนือไหลเพื่อคอนโทรลกระต่าย หากกระต่ายมีแนวโน้มที่จะดิ้น คุณอาจสอดนิ้วล็อกขาหลังทั้งสองข้าง ด้วยวิธีนี้ตัวของกระต่ายสามารถเปิดด้านข้างเล็กน้อยเพื่อให้ขาหลังชี้ไปข้างนอก
 
       ท่าที่ 3 เหมาะสำหรับกระต่ายที่ไม่ค่อยยอมให้อุ้ม วิธีดึงหนังที่หลังคอขึ้น บาลานซ์น้ำหนักตัวกระต่ายให้ดีเพื่อไม่ให้มันดิ้น แล้วรีบเอามืออีกข้างช้อนใต้ก้นโดยเร็วที่สุดเพื่อประคองส่วนล่าง ทำอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ไห้กระต่ายดิ้นและบาดเจ็บ ท่านี้สำหรับการอุ้มแป๊ปเดียว ไม่ควรอุ้มกระต่ายในท่านี้นานๆ
       แต่ผู้เลี้ยงหลายคนจะไม่ใช้วิธีหลัง โดยเฉพาะกับกระต่ายโชว์ เพราะจะทำให้หนังและขนที่หลังคอย่น ไม่สวย มีผลต่อคะแนนเวลาประกวด
        
     ท่าที่ 4 เราจะอุ้มวิธีนี้เพื่อดูท้องกระต่าย จับตรงอกให้มั่นคง ไม่แน่นเกินไป ไม่หลวมเกินไป และอีกมือช้อนใต้ก้นเพื่อรับน้ำหนักและประคองขาหลังเอาไว้
        สังกตุว่าทุกท่า คุณจะต้องจับกระต่ายอย่างมั่นคง และห้ามลืมประคองก้นและขาหละงของกระต่ายเพื่อให้มันรู้สึกปลอดภัย
        อย่าปล่อยให้เด็กๆอุ้มกระต่ายเดินไปนู่นนี่ กระต่ายดิ้นหลุดและตกลงมา บาดเจ็บทั้งเด็กและกระต่ายได้
วิธียกกระต่าย 
      วิธีแรก มือหนึ่งช้อนใต้อก นิ้วมืออยู่ใต้รักแร้ เพื่อป้องกันการบีบอัดของหน้าอก ขาหน้าของกระต่ายจะอยู่บนหลังมือ อีกมือหนึ่งหรือข้อศอกวางไว้ใต้สะโพกของมันเพื่อใช้รับน้ำหนักของกระต่าย  และรีบดึงกระต่ายเข้าหาตัว หรืออีกวิธีหนึ่งดึงหนังที่หลังคอขึ้น บาลานซ์น้ำหนักตัวกระต่ายให้ดีเพื่อไม่ให้มันดิ้น แล้วรีบเอามืออีกข้างช้อนใต้ก้นโดยเร็วที่สุดเพื่อประคองส่วนล่าง วางนิ้วไว้รอบก้นและนิ้วหัวแม่มือวางประคองด้านในของขาหลัง ทำอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ไห้กระต่ายดิ้นและบาดเจ็บ
จับกระต่ายหงายท้อง 
       ให้หันหน้าเข้าหาคุณและอยู่ใกล้ลำตัวของคุณ เอามือขวารวบที่หูทั้งสองข้าง โดยนิ้วโป้งอยู่ด้านหน้าหู อีก 4 นิ้วอยู่หลังหู จับให้มั่นคง มือซ้ายทั้ง 5 นิ้วปิดที่บั้นท้ายกระต่าย มือขวารวบหูดึงไปด้านหลัง มือซ้ายดันสะโพกส่งเข้าหาตัวคุณ  ทั้งสองมือส่งน้ำหนักตามกัน ไม่ใช่กระชากหูไปอย่างเดียว กระต่ายก็จะไม่เจ็บ
  
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก www.medirabbit.com


http://bunnycoach2.igetweb.com

กรงและ สถานที่ตั้งกรง

กรงและ สถานที่ตั้งกรง



            ก่อนที่เราจะเลี้ยงเราควร จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบ รวมทั้งกรง และที่อยู่อาศัย ของเจ้ากระต่ายด้วยครับ  ทั้งนี้ อุปกรณ์ ต่างๆ นั้น มีความสำคัญ สำหรับเจ้ากระต่าย น้อย ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ การเลือก สถานที่ในการตั้ง กรง เลี้ยงกระต่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกันครับ



            - กรงกระต่ายมีหลากลายชนิดครับ อาจจะเป็นกรงที่เป็น ซี่ลวดแล้วมีถาดลอง ที่ขายอยู่ทั่วไปก็ได้ครับ นอกจากนี้กรง กระต่ายเราสามารถ ทำขึ้นเองได้ครับ สำหรับตาข่ายที่ใช้ทำ ไม่ควรใช้ตาข่ายที่มีขนาดความกว้างของช่องตาข่าย เกิน 1 ซ.ม ครับและ ลักษณะของพื้นกรง ควรเป็นตาข่าย หรือ ถ้าเป็นพื้น ก็ควรมีความ ราดเอียงสักเล็กน้อยครับ เพื่อสะดวก เวลาทำความสะอาด ครับควรเลือกกรงที่สามารถปัองกันต่ออันตรายจากสัตว์อื่นๆที่จะมาทำร้ายได้ครับ

            - เราไม่ควร ใช้กรงที่มีพลาสติก เคลือบ นะครับ เพราะ กระต่ายเป็นสัตว์ที่ชอบการกัดแทะ และ เมื่อกัดแทะ กรงที่มีพลาสติกเคลือบ สารพลาสติกอาจจะ ติด เข้าไปในร่างกายของกระต่ายได้ครับ ซึ่งกระต่ายเป็นสัตว์ที่บอบบางต่อสารเคมี ครับ 

            - กรงที่ดีนั้นควรที่จะทำความสะอาดได้ง่ายครับ เพราะ จะได้ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค ครับ 

            - กรง ควรที่จะสะดวกแก่การเครื่อนย้ายได้ ขนาดของกรง ไม่ควรเล็กจนเกินไปครับ ควรเลือกขนาดที่กระต่ายอยู่ได้สบายครับ

            - วัสดุที่ใช้ในการทำกรงกระต่าย จะต้องไม่เป็นอันตรายแก่กระต่ายครับ ต้องไม่มีสารพิษ ต่างๆ 

            เพื่อนๆสามารถเลี้ยงกระต่ายไว้ในบ้านหรือ ไว้นอกบ้านได้ครับ โดยถ้าเพื่อนๆ เลือกที่จะตั้งกรงของกระต่ายใว้นอกบ้าน ก็ควรเลือกสถานที่ตั้งกรง ที่ดีครับเพื่อสุขภาพของกระต่ายครับ



ควรให้มีแสงแดดส่องถึงภายในกรงของกระต่ายบ้าง ในตอนเช้าครับ เพราะว่าแสงแดดจะช่วยในการ ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ภายในกรง และการที่ให้กระต่ายได้ 
รับแสงแดดในเวลาเช้า ก็ช่วยทำให้ สุขภาพของกระต่ายดีด้วยครับ (แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าให้กรงกระต่าย นั้นตากแดด อยู่ตลอดเวลาครับ เพราะ กระต่ายอาจจะเป็นลมแดดได้ครับ


            ให้มีอากาศถ่ายเท เสมอ



             สถานที่ตั้งกรง สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
สามารถป้องกัน แสงแดดจ้า ลม ฝนได้ดี ครับ


ที่มาของข้อมูล  http://www.hamsteronline.com/rabbit/rabbit_003.php

สถานที่ ตั้งควรที่จะสะดวก และง่าย แก่การทำความสะอาด สถานที่ตั้งควรที่จะมีร่มเงา เพื่อป้องกันแสงแดดได้ และ เพื่อลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศโปร่ง

สถานที่ๆมีอากาศถ่ายแทเสมอ ช่วยทำให้กระต่าย มีสุขภาพที่ดี และ ฉี่ของกระต่ายนั้นมีกลิ่นค่อนข้างแรงครับ เราควรเลือกที่ตั้งกรงที่มีอากาศถ่ายเท สะดวกครับ


            มีแสงแดดส่องถึง ในตอนเช้า

สถานที่ตั้งกรง

อาหารกระต่าย

อาหาร  มีความส่าคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระะต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความ ต้องการของกระต่าย
อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. อาหารหยาบ (Roughage)
หมายถึงอาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยี่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไป และเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืช ตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วชีราโต ถั่วไกลซีน ถั่วเทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้น พืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้

อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ดวรหั่นเป็นท่อน ๆให้ยาวพอควร

          2. อาหารข้น (Concentrate)
แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัย อาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลิตผลเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารขันนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ส่าหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายที่ไม่ได้เสริมด้ยอาหารข้น ควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกใน การกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย

          3. อาหารส่าเร็จรูป (Complete feed)
เกิดจากการนำอาหารข้นและอาหารหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการ เลี่ยงโดยทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหาร สำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ


การไห้อาหาร   ควรพิจารณาปริมาณที่ให้ไดยให้พอดีกับความต้องการของกระต่ายซึ่งขื้นอยู่กับระยะ การเจริญเติบโตของกระต่าย น้ำหนักตัวและสภาพเฉพาะของกระต่ายแต่ละตัวด้วย

1. กระต่ายตั้งท้อง
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15% วันละ 4.5% ของน้ำหนักตัวหรือให้ใน ปริมาณ 120-180 กรัมต่อวัน โดยเริ่มให้ตั้งแต่ตรวจพบว่าตั้งท้องหรือท้องประมาณ 15 วันจนถึงวันคลอด

2. กระต่ายเลี้ยงลูก
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 17% วันละ 4.5% ของน้ำหนักแม่รวมกับ น้ำหนักลูก หรือให์ในปริมาณ 150-300 กรัมต่อวัน

3. กระต่ายหลังหย่านม
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 16% วันละ 5 % ของน้ำหนักตัวหรือให้ใน ปริมาณ 50-150ุ กรัมต่อวัน

4. พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15% วันละ 3.5-4 % ของน้ำหนักตัว หรือให์ใน ปริมาณ 90-140 กรัมต่อวัน ปริมาณอาหารส่าหรับพ่อและแม่พันธุ์ควรปรับตามสภาพร่างกาย เพื่อควบคุมไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้การผสมติดยาก

ที่มาของข้อมูล  http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/exotic/rodent/rabbit/rabbit_rearing.htm

การขยายพันธ์กระต่าย

การขยายพันธ์กระต่าย  กระต่ายที่จะนำมาผสมพันธุ์ควรมีอายุอย่างน้อย 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือมี น้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์คือ 1 ต่อ 8-10 ตัวและ พ่อพันธุ์หนึ่งตัวไม่ควรผสมพันธุ์เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กระต่ายตัวเมียจะมีรอบการเป็นสัด ประมาณ 16 วัน ควรผสมพันธุ์เมื้อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ โดยดูที่อวัยวะเพศ ซึ่งจะบวมแดงมี เมือกเยิ้ม และกระต่ายอาจแสดงอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องหรือใช้เท้าตบพื้นกรง ถ้าเลี้ยงไว้หลายตัวรวมกันตัวที่เป็นสัดอาจขึ้นขี่ตัวอื่น เมื่อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่แล้วให้จับ กระต่ายตัวเมียไปใส่ในกรงตัวผู้ ตัวเมียจะยกก้นให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ แล้วตัวผู้จะตกจากหลังตัวเมีย และมักส่งเสียงร้องพร้อมกับใช้เท้าตบพื้นกรง   

แม่กระต่ายจะตั้งท้องประมาณ 29-35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 31 วัน ในช่วงแรกของ การตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะโตขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะ โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรให้อาหารที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่าย เมื่อแม่กระต่ายตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ ให้จัดเตรียมรังคลอดที่ปูด้วยฟางหรือหญ้าแห้งใส่ใน กรงก่อนคลอด 1-2 วัน แม่กระต่ายจะกัดขนปูรังคลอด และคาบวัสดุต่างๆ ที่เราจัดไว้ไห้มา จัดรังคลอดใหม่ ส่วนใหญ่แล้วแม่กระต่ายจะคลอดในตอนเช้ามืดและให้ลูกครอกละ 5-12 ตัว ลูกกระต่ายแรกเกิดจะยังไม่มีขนขึ้น และยังไม่ลืมตาแม่กระต่ายจะให้ลูกกินนมในตอนเช้าวันละ 1-2 ครั้งๆละ 3-4 นาที เท่านั้น เมื่ออายุ 10 วันลูกกระต่ายจะลืมตา และมีขนขึ้นเต็มตัว พออายุประมาณ 15 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มออกจากรังคลอดและเริ่มกินหญ้าหรืออาหารแข็งได้ ลูกกระต่ายจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5-7 สัปดาห์



วิธการเลือกซื้อกระต่าย

   


        ดวงตาของกระต่าย  กระต่ายที่ดี ควรมีดวงตาที่สดใส ไม่ขุ่นมัว หรือ เป็นฝ้า เหมือนเป็นต้อ ครับ บริเวณรอบดวงตาไม่ มีรอยแดง หรือว่า เป็นแผล

ดวงตาไม่บวม
        ขน ของกระต่าย   " ขน " ของกระต่ายนั้นจะต้อง สะอาดไม่ร่วงเยอะผิดปกติครับ และ ขนไม่พันกันยุ่ง ไม่จับติดเป็นก้อนๆ 

        อายุที่เราควรซื้อ  เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญครับ เพราะว่า ช่วงนี้ผมเห็นว่า ร้านขายกระต่ายบางร้าน นำกระต่ายที่ ยังไม่หย่านมมาขายครับ ก็คือ

เมื่อกระต่ายเริ่มทานอาหารได้ บ้างเขาก็ จับมาขายเรา เลยครับ ซึ่ง อัตราการลอด ของกระต่ายจะมีน้อย กว่า กระต่ายที่หย่านมแล้ว ครับ
โดย ขนาดตัวของกระต่ายที่ยังไม่หย่านมนั้น จะเล็กกว่ากระต่ายที่หย่านมแล้ว ครับ ซึ่ง เมื่อถามคนขายว่าทำไมตัวเขาจึงเล็ก คนขายมักจะตอบว่า
เป็นพันธุ์แคระ ครับ ดังนั้น เราควรเลือกซื้อกระต่าย จากร้าน หรือ คนที่ น่าเชื่อถือ ครับ

        เล็บเท้า ของกระต่าย  ควรสังเกตว่า กระต่ายที่เราจะซื้อนั้นมีนิ้วเท้าที่ครบ ทุกนิ้วครับ โดย ขาหน้าของกระต่ายนั้นจะมีนิ้วเท้าอยู่ 5 นิ้วครับและ เท้าหลัง ของกระต่ายนั้น

จะมีนิ้วอยู่ 4 นิ้ว ครับ โดยกระต่ายนั้นจะมีนิ้ว ทั้งหมด 18 นิ้วเท่านั้นครับ


        ตรวจดูตามซอกเล็บ หรือ ตามซอกขา  ต้องไม่มีรอย แผล หรือว่า ตกสะเก็ต เพราะว่า อาการเหล่านั้น คืออาการของโรคเชื้อรา ซึ่ง ผู้ขายตามร้านมักจะเลี้ยงกระต่ายรวมกันซึ่ง 
ทำให้กระต่ายสามารถติดเชื้อได้ง่าย ยิ่งถ้ามีกระต่ายตัวใดตัวหนึ่ง เป็นโรค

        จมูกของกระต่าย  จมูกจะต้องไม่แฉะ เพราะว่า ถ้ากระต่ายจมูกแฉะ นั่นคืออาการของโรคหวัด ครับและ จมูกก็ต้องไม่แห้ง อีกด้วยครับ   สุดท้ายนี้เราควรเลือกซื้อกระต่ายจากแหล่ง ที่น่าเชื่อถือได้จะดีที่สุดครับ เช่นซื้อจากฟาร์ม ต่างๆ ครับ และส่วนเรื่องสีและสายพันธุ์ของกระต่าย
เพื่อนๆควรเลือกตัวที่ชอบมากกว่าครับ เพราะนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณรักเขา และ อยากอยู่กับเขา และเลี้ยงเขาอย่างเต็มใจครับ



ที่มาของข้อมูล  http://pirun.ku.ac.th/~b4609099/2.html

กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทย

กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ดังไปนี้
 1. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ( Newzealand White)
เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่ เนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม

              2. พันธุ์แคลิฟอร์เนียน (Californian)      มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม

              3. พันธุ์แองโกร่า (AngOra)      เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่น ๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม

              4. พันธุ์พื้นเมือง    มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์ กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก


              5.ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop)  มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลเลี้ยงดูค่อนข้างสูง  เพราะเป็นกระต่ายที่มีนิสัยสนุกสนานกับการกิน  และกินเก่งมาก ความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์อาหารบำรุงต้องถึง  ต้องสมบูรณ์  จึงจะทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถให้ผลผลิตลูกออกมาได้อย่างมีคุณภาพ  ทั้งลักษณะขน และความสมบูรณ์ของรูปร่าง กล้ามเนื้อต่าง ๆ จึงทำให้ราคาขายกันทั่วไปในตลาดมีราคาค่อนข้างสูง  ราคาเกรดเลี้ยงทั่วไป จะเริ่มกันที่ประมาณ 2,500-3,500 บาทขึ้นไป  ในเกรดประกวด Show Quality จะเริ่มกันตั้งแต่ 6,000 บาท จนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว






ทำความรู้จักกับเจ้ากระต่ายน้อยกัน

ทำความรู้จักกับเจ้ากระต่ายน้อยกัน
                ในปัจจุบันกระต่ายเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมากทั้งนี้ก็เพราะ ความน่ารัก และ ความสวยงาม เจ้ากระต่ายก็ยังมีหลากหลายสีและสายพันธุ์ต่างๆมากมาย นอกจากนี้กระต่ายนั้นก็เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ซึ่งการดูแลและอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงหาซื้อได้ง่าย

         กระต่าย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี แต่ที่พบมากจะเป็นสีอ่อนเช่นสีขาว เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus
พันธุ์ของกระต่าย กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่
กระต่ายแคระ                      เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น
กระต่ายขนาดเล็ก                ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดกลาง             ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดใหญ่              เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล  http://www.hamsteronline.com/rabbit/rabbit_002.php